ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะสอดคล้อง กับความก้าวหน้าในศิลปะแห่งการวัด ในลักษณะที่ขนานกันไป ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถกล่าวได้ว่า วิธีการที่เร็วที่สุดในการเข้าถึงสถานะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติใด ให้ดูการวัดที่ใช้ เหตุผลสำหรับการนี้ค่อนข้างง่าย เพราะขณะที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็จะมีการค้นพบปรากฏการณ์ และความสัมพันธ์ใหม่ๆ ซึ่งทำให้มีความต้องการการวัดชนิดใหม่พร้อมๆกัน ดังนั้นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เราสามารถสร้างเครื่องมือวัดที่มีความถูกต้องเพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกันจะนำไปสู่การคิดค้นใหม่
การวัด (measurement) เป็นพื้นฐานสำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขา การวัดเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วได้มีการพัฒนารูปแบบ และหลักการของการวัดขึ้นมาจากอดีตพร้อมๆ กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ มีการค้นพบหรือการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ เพื่อดัดแปลงหรือพยายาม ควบคุมธรรมชาติให้เอื้ออำนวยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ มีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ใน กิจการต่างๆ เช่น การสื่อสาร คมนาคม และการก่อสร้างเป็นต้น เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ รวมถึงที่ใช้ในกระบวนการควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้ไม่ว่าจะมองในด้านคุณภาพ ปริมาณ หรือความปลอดภัย จะต้องอาศัยการวัดที่ละเอียดถูกต้องเป็นพื้นฐาน
จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีดังกล่าว เป็นผลมาจากการคิดค้นของนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน และบุคคลที่น่ากล่าวคำยกย่องคือ อัลเบิร์ท ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์ และยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติที่โด่งดังมากในศตวรรษที่ 20 ผลงานที่โดดเด่นและปฏิวัติโลกคือ ปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กตริก (Photoelectric Effect) การเคลื่อนที่บราวเนียน (Brownian Motion) และทฤษฎีสัมพันธ์ภาพพิเศษ (Special Theory of Relativity) ซึ่งคำอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก ได้เป็นพื้นฐานที่สำคัญของวิชากลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยียุคปัจจุบันด้วย อย่างเช่น การประยุกต์ใช้งานด้านมาตรวิทยา สร้างนาฬิกาอะตอม (Atomic Clock) จะอาศัยพื้นฐานของ Quantum Mechanics ซึ่งเราสามารถหาความถี่โดย Atomic resonator ความถี่ของการแผ่รังสีย่านไมโครเวฟ จะเป็นสัดส่วนกับความแตกต่างพลังงานระหว่างชั้นพลังงาน โดยที่การเคลื่อนที่ของวาเลนซ์อิเล็กตรอนระหว่างระดับพลังงาน 2 ระดับ ของอะตอม จะทำให้เกิดการปลดปล่อยหรือดูดกลืนพลังงานที่มีความถี่ที่หาได้จาก E = hu
อ้างอิง http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/5/einstein/einstein6.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น